วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

บทความ


การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)


             ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ 
             ศึกษานิเทศก์ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาล   หมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
       การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

       ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้ 
  • ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น 
  • ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น 
  • ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น 
  • ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติปัญญาของเด็ก 
  • ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น 
  • ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณ์ได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือฝนตก เป็นต้น สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่มีความยากและซับซ้อนจะนำไปสอนในระดับที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นต้น

สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย


สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
       การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยทีได้รับการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิส

ปริญญานิพนธ์ของ
     ญาดา   ช่อสูงเนิน

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยจากการประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
     การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเด็กๆ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น   อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 24 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิงอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จำนวน 24 คน
    2. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัยโดยใช้หลักการและข้อเท็จจริง รวมทั้งประสมการณ์มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งวัดได้ด้วยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จำแนกการคิดเชิงเหตุผลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
    2.1 การจำแนกประเภท เป็นพฤติกรรมในการจัดสิ่งต่างๆโดยยึดเกณฑ์โครงสร้างหน้าที่ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่มจำแนก ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเกณฑ์ที่ใช้จำแนกสิ่งนั้นๆได้
    2.2 การเรียงลำดับ เป็นพฤติกรรมในการรับรู้กฎเกณฑ์ หรือหาระบบความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่กำหนด แล้วสามารถตอบได้ว่าสิ่งต่อไปควรเป็นอะไรโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กันภาพในระบบ ซึ่งสามารถบอกหรืออธิบายหลักที่ใช้ในการจัดระบบได้ เป็นพฤติกรรมในการจัดลำดับความต่อเนื่องของคุณลักษณะ เหตุการณ์ ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเหตุผลของการจัดลำดับความต่อเนื่องได้
    2.3 การอุปมา อุปไมย เป็นพฤติกรรมในการหาความสัมพันธ์ว่าสิ่งที่กำหนดให้ มีความสัมพันธ์กับสิ่งใด โดยสามารถบอกหรืออธิบายถึงคงามสัมพันธ์นั้นได้
    2.4 การสรุปความ พฤติกรรมในการหาข้อสรุปผลจากการพิจารณาสิ่งที่กำหนดให้โดยสามารถบอกและอธิบายเหตุผลที่ใช้ในการลงข้อสรุปได้


แผนการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง การเดินทางของแสง
จุดประสงค์
    1. เพื่อให้เด็กบอกลักษณะการเดินทางของแสงได้
    2. เพื่อให้เด็กเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติวิธีทดสอบการเดินทางของแสงได้
    3. เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบการเดินทางของแสงผ่านช่องที่เจาะตรงกันและไม่ตรงกัน
    4. เพื่อให้เด็กสามารถสรุปความรู้เกี่ยวกับการเดินทางของแสงได้

เนื้อหา
    แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
วัสดุอุปกรณ์
    1. ฉากกระดาษที่เจาะรูตรงกลางตรงกัน จำนวน 2 แผ่น
    2. ฉากกระดาษขนาดเท่ากัน แต่เจาะรูไม่ตรงกับสองแผ่นแรก จำนวน 1 แผ่น
    3. กล่องติดกระดาษสีขาวขนาดเท่าฉาก
    4. ไฟฉาย

ขั้นตอนดำเนินการ
 1. สนทนากับเด็กโดยใช้คำถาม
    - ทำไมเราต้องใส่แว่นตากันแดด
    - เมื่อแสงเข้าตาเด็กๆ รู้สึกอย่างไร
    - ถ้าไม่มีแสงจะเป็นอย่างไร
 2. แนะนำอุปกรณ์และวิธีใช้อุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรม
 3. แบ่งเด็ก กลุ่มละ 4-5 คน แจกไฟฉาย ให้แต่ละกลุ่มเล่นกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ โดยครูคอยสังเกตอยู่ห่างๆ และเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อเด็กต้องการ
 4. เมื่อหมดเวลา เด็กแต่ละกลุ่มเล่าวิธีการใช้อุปกรณ์ของกลุ่มและผลที่เกิดจากการสำรวจทดลองใช้อุปกรณ์ต่างๆ
 5. เด็กและครูร่วมกันอภิปรายถึงการทดลองของแต่ละกลุ่ม โดยใช้คำถามว่า
    - เด็กๆ ทำอะไรบ้างกับอุปกรณ์ที่ครูแจก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
    - เมื่อเอาฉากกระดาษที่เจาะรูตรงกัน 2 แผ่น ตั้งวางห่างกัน ฉายไฟฉายผ่านช่องแล้วเอากล่องติดกระดาษขาวไปวางเป็นฉาก จะเป็นอย่างไร
    - เมื่อเอาฉากกระดาษเจาะรูตรงกลางไม่ตรงกัน ตั้งวางห่างกัน ฉายไฟฉายผ่านช่องแล้วเอากล่องคิดกระดาษขาวไปวางเป็นฉาก จะเป็นอย่างไร
    - เด็กๆ สังเกตเห็นอะไรบ้างขณะทำกิจกรรม
    - เด็กๆ รู้หรือไม่ว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง

การประเมินผล
              1.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
              2.สังเกตการตั้งคำถามและตอบคำถาม
              3.สังเกตการพูดคุยสนทนา

บันทึกครั้งที่6

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ.2559 

        ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชินและมีลายมือที่สวยงาม  ครั้งนี้เป็นครั้งที่3 จากนั้นเพื่อนๆก็นำเสนอของเล่นมี ว่าว  รถลูกโป่งหลอดเลี้ยงลูกบอล  แตร่  ปี่หลอดหรรษา  เครื่องดูดจอมกวน  ไก่กระต๊าก  ทะเลในขวด  ที่ยิงบอลไม้ไอติม  พายุโทนาโด  รถของเล่น  ร่มชูชีพ  เหวี่ยงมหาสนุก  รถแม่เหล็ก  ลูกข่าง กระดานลูกแก้ว  ธนูจากไม้ไอติม  ปลาว่ายน้ำ  แว่นสามมิติ  นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ




             จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของตนเอง จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโค้งบนภาพมือที่เราวาดพอวาดเสร็จก็เปลี่ยน สีปากกาแล้วขีดเส้นโดยขีดเส้นที่สองให้ติดกันกับเส้นเเรกที่ทำไว้  ดังรูปภาพ



การทดลอง
                        การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ 
                                                 จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ




       ต่อมาอาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาพับดอกไม้ที่ทำแล้วนำไปลอยในน้ำแล้วคอยสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงคือ กระดาษรูปดอกไม้ที่เราพับเเล้วเอาไปลอยไว้ในน้ำเกิดการคลี่ออกคล้ายกับดอกไม้บาน

สาเหตุ  เกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ


เพื่อนๆ นำเสนอของเล่น (เป็นกลุ่ม)


กลุ่มที่ 1 กล่องพิศวง

กลุ่มที่ 2  กล้องเพอริสโคป

กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อน

กลุ่มที่ 4 ตกสัตว์ทะเล

กลุ่มที่ 5 ไฟฉายหลากสี

กลุ่มที่ 6 ลูกกลิ้งหกคเมน

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนำเสนองาน
  • การสังเกตการทดลอง
  • การใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การคัดลายมือให้สวยงาม
การนำมาประยุกต์ใช้
      การออกแบบของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการ และการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
      โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
      มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน: มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์: แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

แว่นสามมิติ


แว่นสามมิติ



         
                 Anaglyph (แว่นตาน้ำเงิน/แดง) เทคนิคแรกนี้จะพบเห็นกันมาก และทีเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุด ซึ่งหากจะอธิบายหลักการจากภาพที่เห็นข้างล่างนี้ก็คือ Anaglyph จะใช้กล้องฉายภาพ 2 ตัว ฉายภาพที่มีสีสัน (น้ำเงินกับแดง) และมุมมองที่แตกต่างกัน (เหมือนกับเวลาเราปิดตาแล้วมองทีละข้าง ภาพที่เห็นจะมีมุมทีแตกต่างกันเล็กน้อย) ส่วนแว่นตาทำหน้าทีกรองภาพแต่ละสีออกไป เช่น แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกันกลายเป็นภาพทีมิติขึ้นมา (อีกคำอธิบายหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาพสีแดงจะตกหลังจอตา ส่วนภาพสีน้ำเงินจะตกกระทบก่อนถึงจอตา ความแตกต่างกันของการตกกระทบภาพทั้งสองภาพบนจอตา เมื่อมองเห็นพร้อมกันทำให้เกิดมีติดลึกตื้นที่ไม่เท่ากัน เลยเห็นเป็นภาพลอยออกมาได้นั่นเอง)

วาดรูปสร้างสรรค์


วาดรูปสร้างสรรค์

1. ภาพวาดแบบขยับได้


2. ภาพวาดแบบหมุนได้





วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559


  •  ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชิน เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป 
  • อาจารย์ให้นักศึกษาดูของเล่นของรุ่นพี่ เพื่อเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่


เรียนเรื่อง " กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย "
        อาจารย์ก็ให้ออกไปมองที่กระจกว่าเห็นรูปเป็นแบบ และยิ่งเราทำกระจกให้เล็กลงยิ่งจะเห็นภาพเยอะมากขึ้น อย่างที่เห็นในภาพ





          

ต่อไปจะเป็นภาพสองหน้า

          

ภาพหมุน ยิ่งถ้าหมุนเร็วเราจะเห็นภาพเป็นอีกแบบ

       

        

การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น
การจัดการเรียนการสอน
                     มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย


ประเมินตนเอง  ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี
ประเมินเพื่อน   มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด 

บันทึกการเรียนครั้งที่4


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

  • อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปที่อาคารห้องสมุด เพื่อที่จะไปดูภาพยนต์ที่อาจารย์จัดเตรียมให้
  • อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอ เรื่อง อากาศมหัศจรรย์ ที่ชั้น8 ห้องเธียร์เตอร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ลมก็คืออากาศที่เคลื่อนที่ รอบๆตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศ เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช ก็ยังต้องใช้อากาศหายใจ และอากาศสามารถอยู่ได้ทุกที่ ถึงมองไม่เห็นแต่ก็มีตัวตน   ถึงอากาศจะไม่มีรูปร่างแต่อากาศก็สามารถแทรกอยู่ได้ทุกที่เลย อย่างเช่น





วิธีการทดลองต่อไป



  •  อากาศมีพลังมากมาย แม้หนังสือกองโตๆเรายังใช้แรงดันอากาศยกขึ้นมาได้เลย
          จากการทดลองเรื่องแรงดันอากาศ โดยใช้อากาศจากปอดยกกองหนังสืออากาศร้อนจะพยายามเข้าแทรกแทนที่อากาศเพื่อปรับสมดุลกัน
  • จากนั้นเพื่อนก็แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ให้ไปคัดลายมือ พยัญชนะไทย มาส่งสัปดาห์หน้าเมื่อออกมาจากห้องสมุด อาจารย์ก็เรียกรวมตัวกันที่ใต้ตึกนวัตกรรมและให้นำของเล่นที่ทุกคนทำออกมานำเสนอ บอกชื่อและวิธีการเล่น พร้อมบอกว่าเกี่ยวยังไงกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นก็ให้ไปชมนิทรรศการที่รุ่นพี่ปี 5 จัด


การนำมาประยุกต์ใช้
 สามารถนำวิธีการสอนนี่มาใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้ เพียงพอต่อนักศึกษา ห้องเรียนสะอาดเรียบร้อย แอร์เย็น
การจัดการเรียนการสอน
                   มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้มีวิธีการคิดในสิ่งที่เคยเรียนผ่านมา และสามารถแก้ปัญหาได้เฉพาะหน้าด้วย


ประเมินตนเอง ตั้งใจเรียนฟังอาจารย์อธิบายและร่วมทำกิจกรรมอย่างดี
ประเมินเพื่อน   มีความตั้งเรียน และฟังในสิ่งที่อาจารย์อธิบายและสอนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย น้ำเสียงในการพูดเสียงดังฟังชัด