วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย


สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
       การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยทีได้รับการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิส

ปริญญานิพนธ์ของ
     ญาดา   ช่อสูงเนิน

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยจากการประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
     การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเด็กๆ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น   อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 24 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชายหญิงอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม จำนวน 24 คน
    2. การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัยโดยใช้หลักการและข้อเท็จจริง รวมทั้งประสมการณ์มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคิดหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งวัดได้ด้วยแบบทดสอบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้จำแนกการคิดเชิงเหตุผลออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
    2.1 การจำแนกประเภท เป็นพฤติกรรมในการจัดสิ่งต่างๆโดยยึดเกณฑ์โครงสร้างหน้าที่ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจัดกลุ่มจำแนก ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเกณฑ์ที่ใช้จำแนกสิ่งนั้นๆได้
    2.2 การเรียงลำดับ เป็นพฤติกรรมในการรับรู้กฎเกณฑ์ หรือหาระบบความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่กำหนด แล้วสามารถตอบได้ว่าสิ่งต่อไปควรเป็นอะไรโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กันภาพในระบบ ซึ่งสามารถบอกหรืออธิบายหลักที่ใช้ในการจัดระบบได้ เป็นพฤติกรรมในการจัดลำดับความต่อเนื่องของคุณลักษณะ เหตุการณ์ ซึ่งสามารถบอก หรืออธิบายเหตุผลของการจัดลำดับความต่อเนื่องได้
    2.3 การอุปมา อุปไมย เป็นพฤติกรรมในการหาความสัมพันธ์ว่าสิ่งที่กำหนดให้ มีความสัมพันธ์กับสิ่งใด โดยสามารถบอกหรืออธิบายถึงคงามสัมพันธ์นั้นได้
    2.4 การสรุปความ พฤติกรรมในการหาข้อสรุปผลจากการพิจารณาสิ่งที่กำหนดให้โดยสามารถบอกและอธิบายเหตุผลที่ใช้ในการลงข้อสรุปได้


แผนการจัดประสบการณ์แบบสร้างองค์ความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
เรื่อง การเดินทางของแสง
จุดประสงค์
    1. เพื่อให้เด็กบอกลักษณะการเดินทางของแสงได้
    2. เพื่อให้เด็กเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติวิธีทดสอบการเดินทางของแสงได้
    3. เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบการเดินทางของแสงผ่านช่องที่เจาะตรงกันและไม่ตรงกัน
    4. เพื่อให้เด็กสามารถสรุปความรู้เกี่ยวกับการเดินทางของแสงได้

เนื้อหา
    แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
วัสดุอุปกรณ์
    1. ฉากกระดาษที่เจาะรูตรงกลางตรงกัน จำนวน 2 แผ่น
    2. ฉากกระดาษขนาดเท่ากัน แต่เจาะรูไม่ตรงกับสองแผ่นแรก จำนวน 1 แผ่น
    3. กล่องติดกระดาษสีขาวขนาดเท่าฉาก
    4. ไฟฉาย

ขั้นตอนดำเนินการ
 1. สนทนากับเด็กโดยใช้คำถาม
    - ทำไมเราต้องใส่แว่นตากันแดด
    - เมื่อแสงเข้าตาเด็กๆ รู้สึกอย่างไร
    - ถ้าไม่มีแสงจะเป็นอย่างไร
 2. แนะนำอุปกรณ์และวิธีใช้อุปกรณ์ ในการปฏิบัติกิจกรรม
 3. แบ่งเด็ก กลุ่มละ 4-5 คน แจกไฟฉาย ให้แต่ละกลุ่มเล่นกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ โดยครูคอยสังเกตอยู่ห่างๆ และเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อเด็กต้องการ
 4. เมื่อหมดเวลา เด็กแต่ละกลุ่มเล่าวิธีการใช้อุปกรณ์ของกลุ่มและผลที่เกิดจากการสำรวจทดลองใช้อุปกรณ์ต่างๆ
 5. เด็กและครูร่วมกันอภิปรายถึงการทดลองของแต่ละกลุ่ม โดยใช้คำถามว่า
    - เด็กๆ ทำอะไรบ้างกับอุปกรณ์ที่ครูแจก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
    - เมื่อเอาฉากกระดาษที่เจาะรูตรงกัน 2 แผ่น ตั้งวางห่างกัน ฉายไฟฉายผ่านช่องแล้วเอากล่องติดกระดาษขาวไปวางเป็นฉาก จะเป็นอย่างไร
    - เมื่อเอาฉากกระดาษเจาะรูตรงกลางไม่ตรงกัน ตั้งวางห่างกัน ฉายไฟฉายผ่านช่องแล้วเอากล่องคิดกระดาษขาวไปวางเป็นฉาก จะเป็นอย่างไร
    - เด็กๆ สังเกตเห็นอะไรบ้างขณะทำกิจกรรม
    - เด็กๆ รู้หรือไม่ว่า แสงเดินทางเป็นเส้นตรง

การประเมินผล
              1.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
              2.สังเกตการตั้งคำถามและตอบคำถาม
              3.สังเกตการพูดคุยสนทนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น